วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบและนำเสนอ วีดิทัศน์หนังสั้นอย่างสร้างสรรค์

หนังสั้น หมายถึง เรื่องที่นำเสนอทั้งภาพและเสียงและในระยะเวลาอันจำกัดประมาณ 5-10นาที โดยสะท้อนเรื่องราว สาระที่เกิดขึ้นและจบลงอย่างรวดเร็ว

ขั้นตอนการผลิตหนังสั้น

1. ขั้นเตรียมการผลิต (Pre-Production)
• 1.1 สำรวจความต้องการและวิเคราะห์ปัญหา                                      
• 1.2 วิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเรื่อง
• 1.3 เขียนบทวีดิทัศน์
• 1.4 วางแผนการถ่ายทำ

2. ขั้นการผลิต (Production)
      คือ การถ่ายทำวีดิทัศน์เป็นการบันทึกภาพวีดิทัศน์ตามบทวีดิทัศน์ที่ได้เขียนไว้ ในการถ่ายทำควรจะต้องศึกษาบทวีดิทัศน์อย่างละเอียด ถ่ายทำให้ได้ภาพครบตามที่ต้องการ

3. ขั้นหลังการผลิต (Post-Production)
        คือ การตัดต่อลำดับภาพ ในขั้นนี้ถือว่าเป็นสุดท้ายของการผลิต เป็นขั้นสำคัญอีกขั้นหนึ่งที่ต้องมีความระเอียดรอบคอบทั้งทางด้านภาพและเสียง โดยการนำภาพต่างๆ เสียง กราฟิก มาเรียบเรียง ลำดับให้เป็นเรื่องราวตามบทวีดิทัศน์ที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งการแก้ไข ปรับแต่งให้มีความเหมาะสม สวยงาม น่าสนใจติดตาม และจะต้องคำนึงถึงรูปแบบของสื่อที่จะเผยแพร่อีกด้วย

4. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
       การประเมินผล เป็นการประเมินผลสื่อ เมื่อได้ผลิตรายการวีดิทัศน์มาแล้วต้องนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริงจำนวนหนึ่ง 
เพื่อนำข้อมูลต่างๆ มาปรับปรุงแก้ไขตามที่เห็นสมควร เพื่อให้วีดิทัศน์มีคุณภาพก่อนจะนำไปเผยแพร่ต่อไป

5. ขั้นเผยแพร่
    การเผยแพร่ในการเผยแพร่วีดิทัศน์ ควรมีรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะท าได้ และควรเก็บข้อมูล ข้อแนะน าต่างๆ จากผู้ใช้ เพื่อนำมาแก้ไขในเรื่องอื่นต่อไป


การเขียนบทวีดิทัศน์
•    บทวีดิทัศน์ คือ เป็นข้อเขียนหรือรายละเอียดที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดแนวทาง ในการดำเนินการผลิตรายการวีดิทัศน์ และสื่อความหมายให้ทุกฝ่ายเข้าใจได้ตรงกันและสื่อความหมายได้ตรงตามวัตถุประสงค์

จุดมุ่งหมายของการเขียนบทวีดิทัศน์
   การผลิตรายการวีดิทัศน์ไม่ว่าจะลักษณะใดก็ตามต้องอาศัยบทเป็นแนวทางในการผลิต การเขียนบทเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างน้อย 3 ประการ
คือ
1. เพื่อกำหนดรูปแบบของรายการ
2. เพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาของรายการ
3. เพื่อจัดข่าวสารที่สำคัญของการผลิตรายการให้เป็นขั้นตอนสะดวกต่อการวางแผน การผลิตและการดำเนินการผลิต

บทวีดิทัศน์แบ่งออกเป็น 4 แบบใหญ่ๆ ได้แก่
1. บทวีดิทัศน์แบบสมบูรณ์(Fully script) เป็นบทที่บอกทุกสิ่งทุกอย่างไว้ มีการเขียนคำพูดทุกคำที่ต้องสื่อออกไป พร้อมกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับคำสั่งของภาพและเสียงไว้อย่าง
สมบูรณ์ ประโยชน์ ของการเขียนบทประเภทนี้ คือ เราสามารถมองภาพของรายการได้ตั้งแต่ต้น จนจบ

2. บทวีดิทัศน์กึ่งสมบูรณ์(Semi script )เป็นบทที่วางแนวทางของเรื่องไว้ ระบุหัวข้อเรื่องหรือเสียงที่จะพูดไว้ คำพูด คำบรรยาย หรือบทสนทนานั้นจะไม่ได้ระบุทุกตัวอักษร เพื่อให้ผู้ด าเนิน
รายการทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น บทวีดิทัศน์แบบนี้ได้แก่บทที่มีเนื้อหาเป็นเชิงอภิปราย การสาธิต สิ่งส าคัญของบทนี้ คือ ต้อง
ระบุคำสุดท้ายในประโยคของผู้พูดเอาไว้เสมอ เพื่อเป็นสัญญาณบอกผู้กำกับรายการ สามารถตัดรายการได้

3. บทวีดิทัศน์บอกเฉพาะรูปแบบ (Rundown sheet )บทโทรทัศน์ประเภทนี้ เขียนเพียงคำสั่งของส่วนต่างๆที่สำคัญในรายการฉากที่ส าคัญๆ ลำดับรายการที่สำคัญๆ บอกเพียงเวลาของรายการแต่ละตอน เวลาดำเนินรายการ ทั้งนี้เพื่อให้ฝ่ายต่างๆ รู้คิวของรายการ

4. บทวีดิทัศน์แบบร่างกำหนดการของรายการ บทโทรทัศน์ประเภทนี้จะแสดงเพียงเค้าโครงของรายการในลักษณะร่างลำดับของรายการตั้งแต่เริ่มต้นจบรายการ มีการกำหนดช่วงเวลาของเนื้อหา ในรายการบทประเภทนี้เหมาะสำหรับรายการที่ไม่สามารถกำหนดรายละเอียด

การวางแผนกำหนดแนวทางการเขียนประกอบด้วย
ในการเขียนบทวีดิทัศน์ ควรมีแนวทางในการเขียนดังนี้
• WHO – กลุ่มเป้าหมายของเรื่องคือใคร
• WHY - วัตถุประสงค์ของการนำเสนอเรื่องราว
• WHAT - มีอะไรเป็นขอบเขตเนื้อหา
• HOW - เทคนิคการนำเสนอ น่าสนใจ มีชีวิตชีวา มีลูกเล่น มีขึ้น-ลง
• WHEN - เวลา / ความยาว / ออกอากาศ
• WHERE - โรงเรียน / สถานีโทรทัศน์/Internet

ลำดับขั้นการเขียนบท 
1. ศึกษาแผนการผลิต ผู้เขียนบทต้องศึกษาเพื่อให้ทราบเป้าหมายการผลิตที่แน่นอน การวิเคราะห์พื้นฐานของผู้ชม งบประมาณ เวลา จนกระทั่งรูปแบบของรายการ
2. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นหัวใจสำคัญที่ท าให้บทมีคุณค่าน่าเชื่อถือ ข้อมูลที่มากพอในหลายแง่มุม ทำให้สามารถสร้างสรรค์เรื่องราวได้อย่างน่าสนใจ
3. การเขียนโครงสร้างเรื่องจากข้อมูลที่ค้นคว้า ผู้เขียนบทต้องพยายามจินตนาการให้เห็นภาพของสิ่งที่จะเขียนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ การจินตนาการเป็นภาพจะง่ายและรวดเร็วกว่า แต่ถ้ามีข้อความที่ส าคัญหรือน่าประทับใจ ก็ควรจะคิดควบคู่กันไปพร้อมๆ กับภาพ ผู้เขียนบทสามารถจินตนาการงานได้ทุกที่ทุกเวลา
4. ควรมีการประชุมเพื่อให้ความเห็นชอบกับโครงเรื่อง ของผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจในงานการผลิตรายการที่เขียนบท โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนบทตามความเหมาะสม
5. ในการเขียนบทสำหรับถ่ายทำ ผู้เขียนบทควรคำนึงอยู่เสมอว่าการเขียนบทวีดิทัศน์ให้ช่างภาพและทีมงานเข้าใจอย่างดี จะเป็นด่านแรกของการผลิตรายการวีดิทัศน์ได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์
6. ตรวจสอบประเมินความถูกต้องของบท เมื่อเขียนบทเสร็จแล้ว ควรทบทวน ตรวจทานปรับปรุงโดยเก็บบทไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อคลี่คลายความรู้สึกเป็นเจ้าของเรื่อง 
      ผู้เขียนบทมักทำให้ขาดความเป็นกลางแล้วนำมาอ่านใหม่ด้วยใจเป็นกลาง จะพบว่าสามารถปรับปรุงให้บทมีความสมบูรณ์ขึ้นได้มาก นอกจากการแก้ไขด้วยตนเองแล้ว การนำบทไปให้ผู้รู้หรือผู้สนใจในเรื่องนั้นอ่าน อาจทำให้ได้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์มาก

องค์ประกอบที่สำคัญของบทวีดิทัศน์
1. ส่วนที่นำเข้าสู่เรื่องหรือแนะน าเรื่อง (introduction) เป็นตอนต้นของเรื่อง ให้ผู้ชมสนใจเรื่องราวต่างๆ ที่จะบอกเล่า
2. ส่วนที่เป็นการดำเนินเรื่อง เป็นส่วนที่บอกถึงเรื่องนั้นๆว่าดำเนินอย่างไร(development) 
3. ส่วนที่เป็นแก่นของเรื่อง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ส่วนที่จะเปิดเผยเรื่อง(climax) 
4. เป็นส่วนที่สรุป เมื่อเสนอเรื่องนั้นจบแล้ว บางครั้งอาจจะให้ผู้ดูสรุปเอง 
ขึ้นอยู่กับการออกแบบรายการ

หลักในการเขียนบทที่ดี 
1. บทวีดิทัศน์ควรมีแก่นเรื่อง(Theme) เพื่อให้เรื่องมีเอกภาพ(Unity) 
2. มีการวางโครงเรื่องที่ดี(Out line) น่าสนใจให้ติดตาม
3. ควรเลือกรูปแบบของบทให้เหมาะสมกับเนื้อหาของเรื่อง
4. ภาษาที่ใช้ควรมีความสละสลวยเข้าใจง่ายใช้ภาษาเพื่อการฟังมิใช่ภาษาเพื่อการอ่าน
5. ภาพและเสียงควรมีความสัมพันธ์กัน(relation of sound and picture) 
6. ภาพและเสียงของแต่ละช่วงตอนต้องมีความต่อเนื่องกัน
7. ค านึงถึงจำนวนเวลาของรายการ ความยาวของบทต้องสอดคล้องกับเวลาที่มี
8. ผู้เขียนบทควรประสานแนวคิดกับเจ้าของเรื่อง เพื่อให้ได้เนื้อเรื่องที่ถูกต้องสมบูรณ์
9. ขณะที่มีการผลิตรายการผู้เขียนบทควรสังเกตการณ์จากจอมอนิเตอร์ว่าภาพและเสียงที่ปรากฏนั้นเป็นไปตามจินตนาการที่คิดไว้หรือไม่ ถ้าไม่ดีอย่างที่คิด อาจจะให้ข้อคิดเห็นแก่ผู้กำกับเพื่อช่วยกันปรับปรุงแก้ไข
10. เมื่อขั้นตอนการผลิตเสร็จสิ้นลง ตามปกติจะมีการประชุมดูผลงาน เพื่อประเมินผู้เขียนบทต้องเข้าร่วมประเมินคุณภาพของ

สิ่งที่ควรรู้ในการกำหนดมุมกล้องมีดังนี้
ลักษณะภาพ 
•       ลักษณะภาพ (Image size) คือ การกำหนดขนาดของภาพที่จะสื่อสารเนื้อหา หรือเหตุการณ์ต่อผู้ชม ลักษณะภาพต่างๆ มีดังนี้
• Extreme Long Shot (ELS.) เป็นภาพระยะไกลมากๆ Subject หรือ วัตถุที่จะถ่ายมี ขนาดเล็กมาก เมื่อเทียบกับฉากหลัง (Background) ที่กว้างใหญ่เป็นภาพที่เน้นให้ผู้ชมเห็นสภา แวดล้อมหรือฉากหลังเป็นหลัก โดยมีSubject เป็นส่วนประกอบ
• Long Shot (LS.) เป็นภาพระยะไกลที่ใกล้เข้ามากกว่า ELS เล็กน้อย แต่ Subject ก็ยังไม่เด่นเท่าฉากหลัง
• Medium Close Up (MCU.) ภาพจะเน้น Subject มากขึ้น
• Close Up (CU.) เป็นภาพที่ถ่ายใกล้มากจนฉากหลังไม่มีความหมาย ภาพ (CU.) เป็นภาพที่สร้างปฏิกิริยาตอบสนองและอารมณ์จากผู้ดูปรับความสนใจ และเน้นย้ำวัตถุหรือ ตัวแสดง
• Extreme Close Up (ECU) เป็นภาพที่ใกล้มากจนเห็น Subject เต็มจอ แสดงราย ละเอียดของวัตถุและตัวแสดงเน้นอารมณ์ของผู้แสดง ภาพใกล้มากๆ ช่วยเน้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็น พิเศษ


Camera angle shotsมุมกล้อง
มุมกล้อง (Camera angle) 
          มุมกล้องก็เป็นเช่นเดียวกับระยะภาพที่ช่วยให้ผู้ดูสามารถมองเห็นวัตถุได้หลายแง่ หลายมุม มีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้ดูต่อสิ่งนั้นและยังช่วยสร้างบรรยากาศที่แตกต่างกันออกไปด้วย
1.  ภาพระดับสายตา (Eye level shot)เป็นมุมกล้องปกติที่ใช้มากที่สุด ภาพอยู่ใน ระดับสายตาโดยยึดเอาสิ่งที่ถ่ายเป็นหลัก ไม่ใช่สายตาของผู้ถ่าย เป็นการตั้งกล้องในระดับเดียวกันกับ
สายตาของผู้ชม การเสนอมุมแบบนี้ทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง
2. มุมกล้องระดับสูง (High Angle) ตำแหน่งของกล้องจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าสิ่งที่ถ่ายเวลาบันทึกภาพจึงต้องกดลงมา มุมนี้จะทำให้มองเห็นเหตุการณ์ทั่วถึง เหมาะที่จะใช้กับฉากที่ต้องการ แสดงความงามของทัศนียภาพ อีกทั้งมุมนี้ยังทำให้สิ่งที่ถ่ายมองดูเล็กลง ทำให้รู้สึกต่ำต้อย
3. มุมกล้องในระดับสายตานก (Bird's eye view) เป็นการตั้งกล้องในตำแหน่งเหนือศีรษะโดยตรงของสิ่งที่ถ่ายภาพที่ถูกบันทึกจะมีมุมมองเช่นเดียวกับสายตานกที่มองดิ่งลงมายังพื้นดิน มุมกล้องนี้ให้ความรู้สึกสิ้นหวัง หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ รวมทั้งตกอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมของผู้ที่อยู่เหนือกว่า 
4. มุมกล้องระดับต่ำ (Low Angle)กล้องจะตั้งในระดับต่ำกว่าสิ่งที่ถ่าย เวลาบันทึกภาพต้องเงยกล้องขึ้น ภาพมุมต่ำจะมีลักษณะตรงข้ามกับมุมสูง คือ จะให้ความรู้สึกว่าสิ่งที่ถ่ายนั้นมีอำนาจ มีค่า ยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม แสดงถึงความสง่างามและชัยชนะ มีพลัง

ลักษณะภาพ
• เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะของภาพ ขนาดของภาพที่จะถ่าย
1. ภาพระยะไกลมาก Extreme Long shot (ELS)
2. ภาพระยะไกล Long shot (LS)
3. ภาพระยะไกลปานกลาง Medium Long shot (MLS)
4. ภาพระยะปานกลางMedium shot (MS)
5. ภาพระยะปานกลางใกล้ Medium Close Up shot (MCU)
6. ภาพระยะใกล้ Close Up (CU)
7. ภาพระยะใกล้มาก Extreme Close Up (ECU)
ลักษณะภาพการออกแบบและนำเสนอ
Extreme Long shot (ELS)
• 1. ภาพระยะไกลมาก Extreme Long shot (ELS)หมายถึง การถ่ายภาพภาพในระยะที่อยู่ไกลมาก เพื่อให้เห็นถึงบรรยากาศโดยรอบของสถานที่ หรือ สภาพแวดล้อมไม่มีการเน้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
Long shot (LS)
• 2. ภาพระยะไกล Long shot (LS)หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุในระยะไกล เพื่อแสดงที่ตั้งหรือส่วนประกอบในฉาก หรือแสดงสัดส่วน ของขนาดวัตถุเปรียบเทียบกับส่วนประกอบอื่นๆในฉาก เช่น 
ภาพเต็มตัว
Medium Long shot (MLS)
3. ภาพระยะไกลปานกลาง Medium Long shot (MLS)หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุในระยะไกล ที่แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของวัตถุ
Medium shot (MS)
• 4. ภาพระยะปานกลางMedium shot (MS)หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุในระยะปานกลางเพื่อ ตัดฉากหลังและรายละเอียดอื่นๆที่ไม่จำเป็นออกไป อีกทั้งยังเป็นการถ่ายภาพวัตถุให้เห็นภาพที่ใหญ่
กว่าเดิม เน้นส่วนละเอียดมากขึ้น เช่นภาพครึ่งตัว
Medium Close Up shot (MCU)
• 5. ภาพระยะปานกลางใกล้ Medium Close Up shot (MCU)หมายถึง ภาพถ่ายวัตถุในระยะปานกลาง ที่ถ่ายเน้นรายละเอียดของวัตถุให้เข้าใกล้มาอีก
Close Up (CU)
• 6. ภาพระยะใกล้ Close Up (CU)หมายถึง ภาพถ่ายระยะใกล้วัตถุ เพื่อเน้นวัตถุ หรือบางส่วนของวัตถุขจัดสิ่งอื่นๆที่ไม่ต้องการแสดง ออกไป ขยายให้เห็นรายละเอียดเฉพาะของวัตถุให้ชัดเจนมากขึ้น เช่นภาพครึ่งหน้าอก
Extreme Close Up (ECU)
• 7. ภาพระยะใกล้มาก Extreme Close Up (ECU)หมายถึง ภาพถ่ายที่เน้นให้เห็นส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุอย่างชัดเจน เช่นนัยน์ตา เพื่อแสดง อารมณ์ของผู้ที่อยู่ในภาพ

ลักษณะของภาพที่ถ่าย
เพื่อบอกเนื้อหา หรือเรื่องราวของภาพและลักษณะภาพหรือธรรมชาติของภาพที่ถ่าย
1. ภาพที่ถ่ายจากมุมสูง (aerial shot / bird’s eyes view)
2. ภาพที่ถ่ายในระยะใกล้มาก (Big Close Up Shot)
3. ภาพครึ่งอก (Bust Shot)
4. ภาพเอียง (Canted Shot)
5. ภาพถ่ายข้ามไหล่ (Cross Shot)

ภาพที่ถ่ายจากมุมสูง (aerial shot / bird’s eyes view)
• 1. ภาพที่ถ่ายจากมุมสูง (aerial shot / bird’s eyes view)หมายถึง ภาพถ่ายในลักษณะถ่ายจากมุมสูง เช่น จากเครื่องบิน เสมือนภาพแทนสายตานก ในบทโทรทัศน์นอกจากบอกว่า ตั้งกล้องมุมสูง
แล้วจะต้องระบุด้วยว่าถ่ายจากเครื่องบิน
ภาพที่ถ่ายในระยะใกล้มาก (Big Close Up Shot)
• 2. ภาพที่ถ่ายในระยะใกล้มาก (Big Close Up Shot)หมายถึง ภาพถ่ายในลักษณะใกล้มีขนาดใหญ่ เช่น ภาพคนเต็มหน้า หรือภาพบางส่วนของใบหน้าที่ต้องการเน้นเฉพาะ เช่น นัยน์ตา ปาก จมูก หรือ
บางส่วนของวัตถุภาพครึ่งอก (Bust Shot)
• 3. ภาพครึ่งอก (Bust Shot) หมายถึง ภาพถ่ายศีรษะกับหัวไหล่ทั้งสองของผู้แสดง 
ภาพเอียง (Canted Shot)
• 4. ภาพเอียง (Canted Shot) หมายถึง ภาพที่อยู่นอกเส้นดิ่งของภาพ ในบทโทรทัศน์มักจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น ภาพเอียง หรือภาพเฉียง ลักษณะใด
ภาพถ่ายข้ามไหล่ (Cross Shot)
• 5. ภาพถ่ายข้ามไหล่ (Cross Shot) หมายถึง ภาพที่ถ่ายข้ามไหล่ด้านหลังอีกคนหนึ่งเป็นฉากหน้า และเห็นหน้าอีกคนหนึ่ง ในบทโทรทัศน์ใช้ค าว่า X- Shot หรือถ่ายข้ามไหล
ภาพเต็มตัว (Full Shot)
• 6. ภาพเต็มตัว (Full Shot) หมายถึง ภาพผู้แสดงคนเดียว หรือหลายคนเต็มตัว โดยมีฉากหลังประกอบ 
ภาพระดับเข่าของร่างกาย (Knee Shot)
• 7. ภาพระดับเข่าของร่างกาย (Knee Shot) หมายถึง ภาพที่ถ่ายตั่งแต่ศีรษะลงไปจนถึงหัวเข่า หรือการถ่ายภาพตั่งแต่หัวเข่าลงไปถึงเท้า ซึ่งในบทโทรทัศน์ควรระบุให้ชัดเจน
ภาพถ่ายจากกระจกเงา (Mirror Shot)
•     8. ภาพถ่ายจากกระจกเงา (Mirror Shot) หมายถึง ภาพที่ถ่ายผู้แสดงจากภาพในกระจกเงา ซึ่งในบทโทรทัศน์ควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นภาพจากกระจกเงา
ภาพหมู่ (Group shot)
•     9. ภาพหมู่ (Group shot)  หมายถึง ภาพในลักษณะรวมกันเป็นหมู่ หรือเป็นกลุ่มคน
ภาพบุคคล 2 คนครึ่งตัว (Two Shot / Double Shot )
•     10. ภาพบุคคล 2 คนครึ่งตัว (Two Shot / Double Shot ) หมายถึง ภาพบุคคล 2 คนครึ่งตัวในกรอบภาพเดียวดัน หันหน้าเข้าหากัน


การเคลื่อนไหวกล้อง (Camera Movement)
•     การเคลื่อนไหวกล้องในระหว่างการถ่ายทำจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจและแสดงเรื่องราว ความหมายได้ดีนอกเหนือจากตัววัตถุเคลื่อนไหวหรืออาจเคลื่อนไหวทั้ง 2 อย่าง พร้อมๆกัน การเคลื่อนไหว
ของกล้องมีหลาแบบ ดังน
การแพนกล้อง (Panning)
การแพนกล้อง (Panning)หมายถึง การเคลื่อนที่ของกล้องตามแนวนอนไปทางซ้าย (Pan left) หรือไปทางขวา (Pan right) เพื่อให้เห็นวัตถุตามแนวกว้าง หรือเมื่อต้องการน าผู้ชมไปยังจุดน่าสนใจ หรือที่ต้องการ
- เพื่อให้เห็นภาพที่อยู่นอกจดภาพใน
ขณะนั้น
- เพื่อต้องการติดตามการเคลื่อนไหววัตถุ
- เพื่อให้เห็นปฏิกริยาตอบโต้กัน
- เพื่อต้องการการเปลี่ยนฉาก
การทิ้ลท์ (Tilting)
• 2. การทิ้ลท์(Tilting)หมายถึง การเคลื่อนกล้องตามแนวดิ่ง จากล่างขึ้นบน (Tilt Up) และจากบนลงล่าง (Tilt Down) เพื่อให้เห็นวัตถุตามแนวตั้งเช่น ภาพอาคารสูง หรือนำผู้ชมไปยังจุดที่ต้องการ
- เพื่อให้เห็นตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ โดยสัมพันธ์กัน
- เพื่อให้เห็นวัตถุที่ยาวหรือสูงเกินรัศมี
- เพื่อต้องการปรับองค์ประกอบภาพ
การซูม (Zooming)
• 3. การซูม (Zooming)หมายถึง การเปลี่ยนขนาดของวัตถุให้ใหญ่ขึ้น (Zoom In) หรือเปลี่ยนขนาดของวัตถุให้เล็กลง(Zoom Out)
- เพื่อต้องการเปลี่ยนขนาดของวัตถุอย่างช้าๆ
- เมื่อต้องการให้ผู้ชมสนใจวัตถุนั้น
- เมื่อต้องการให้เห็นวัตถุอย่างชัดเจน
- เพื่อให้บังเกิดผลที่น่าตื่นใจ
การดอลลี่ (Dolling)
 4. การดอลลี่ (Dolling)
      หมายถึง การเคลื่อนกล้องติดตาม ความเคลื่อนไหวของสิ่งที่ถ่าย หรือฉากที่มีระยะทางยาวในทิศทางตรง หรือทางอ้อมไปรอบๆ การเคลื่อนไหวกล้องเข้าหาวัตถุ เรียกว่า Dolly in และการเคลื่อนไหวกล้องออกจากวัตถุ เรียกว่า Dolly out ผลของการดอลลี่ (Dolly) จะคล้ายซูม (Zoom) คือขนาดของวัตถุจะเปลี่ยนแปลงไปตาระยะของการดอลลี่ แต่จะแตกต่างกันตรง ส่วนประกอบต่างๆในภาพเกี่ยวกับระยะทางระหว่างวัตถุกับฉากหน้าและฉากหลัง จะเปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนไหวของกล้อง คนดูจะสามารถรู้ถึงมิติของความลึกมากกว่าภาพที่เกิดจากการซูม
- เพื่อสร้างความตื่นเต้น
- เมื่อต้องการติดตามการเคลื่อนไหว
- เพื่อให้มีมุมมองภาพที่หลากหลายแบบ
- เมื่อต้องการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบภาพ
การทรัค (Trucking / Tracking )
• 5. การทรัค (Trucking / Tracking )หมายถึง การเลื่อนไหวกล้องไปด้านซ้ายให้ขนานกับวัตถุไปทางซ้าย เรียกว่า หรือไปทางขวา เรียกว่า ซึ่งผลจะคล้ายกับการแพน แต่การทรัคจะช่วยให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงมิติเรื่องความลึกของ ภาพได้ดีกว่า คล้ายๆกับความรู้สึกของเราที่มองออกไปนอกหน้าต่างรถขณะที่เคลื่อนที่ไป 
การอาร์ค (Arking)
• 6. การอาร์ค (Arking)หมายถึง การเคลื่อนไหวกล้องในแนวเฉียงเป็นรูปครึ่งวงกลม ไปทางซ้าย (Ark left) หรือ ไปทางขวา (Ark right) เพื่อเปลี่ยนมุมกล้องไปทางด้านข้างของวัตถุ
การบูม หรือเครน (Booming / Craning)
 7. การบูม หรือเครน (Booming / Craning)หมายถึง การถ่ายภาพพร้อมกับขาตั้งกล้องในแนวตั้ง เรียกว่า ‘บูม’ ถ้าเคลื่อนขึ้น เรียกว่า Boom Up ส่วนเลื่อนลง เรียกว่า Boom Down และถ้าเคลื่อน
กล้องขึ้นลงโดยใช้เครน เรียกว่า Crane Up และCrane Down เมื่อต้องการเคลื่อนกล้องลงด้วยเครน วัตถุประสงค์เพื่อต้องการคงมุมกล้องที่ต้องการจากมุมสูงและต่ าอย่างต่อเนื่อง
สติลช็อต (Still Shot)
•    8. สติลช็อต (Still Shot)หมายถึง การถ่ายภาพโดยไม่เคลื่อนกล้อง ใช้มากในการถ่ายทำรายการทั่วไป โดยปกติกล้องจะโฟกัสอยู่บนวัตถุหรือบุคคลที่ต้องการออกอากาศมากที่สุด ใน
การถ่ายแบบนี้จำเป็นต้องจัดองค์ประกอบภาพให้ดี
การเชื่อมต่อภาพ (Transition)
• เป็นวิธีการลำดับเวลาและเหตุการณ์ โดยการใช้เทคนิคพิเศษ ดังนี้
1. การตัดภาพ (Cut)
2. ภาพจาง (Fade)
3. ภาพจางซ้อน (Dissolve)
4. ภาพซ้อน (Superimpose)
5. ภาพกวาด (Wipe)
6. ภาพเลือนเข้าหากัน (Morphink)การเปลี่ยนจากภาพหนึ่งไปสู่อีกภาพหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ด้วยการละลายเข้าหากันจนเป็นภาพใหม่ ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่องคนเหล็ก 
และเรื่องโรโบคอบ
Cut
• 1. การตัดภาพ (Cut)
หมายถึง การเปลี่ยนภาพอย่างแบพลัน โดยการเปลี่ยนจากภาพหนึ่งมาอีกภาพหนึ่ง โดยไม่มี อะไรมาคั่น ใช้ช็อทที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การตัดต่อตาปกติ มักใช้การตัดภาพแบบนี้
Fade
• 2. ภาพจาง (Fade)หมายถึง การต่อเชื่อมภาพเริ่มจากภาพมือสนิทไม่มีภาพ แล้วค่อยๆปรากฏเป็นภาพเลือนลางจนเป็นภาพที่มองเห็นชัดเจน เรียกว่า Fade In มักใช้ในตอนเริ่มเรื่อง หรือเริ่มต้นใหม่ เหมือนการเปิด ฉาก ส่วนภาพ Fade Out เป็นการเริ่มต้นจากภาพที่ปรากฏชัดเจนอยู่แล้ว ค่อยๆเลือนลางและหายไปกลาย เป็นภาพมือสนิท มักใช้ตอนจบเรื่อง การใช้การจางภาพสามารถใช้คั่นเชื่อมโยงระหว่างฉากแรกกับฉากหลัง ซึ่งเป็นเวลาที่ล่วง มานาน หรือสถานที่นั้นอยู่ห่างกันไกลมาก
Dissolve
• 3. ภาพจางซ้อน (Dissolve)หมายถึง การเชื่อมต่อภาพ โดยการใช้ช็อทแรกค่อยๆจางออกไป ในขณะเดียวกับฉากหลังจะ ค่อยๆจางซ้อนเข้ามา จนกระทั่งช็อทแรกจางหายออกไปเหลือแต่ช็อทหลังเท่านั้น ใช้สำหรับคั่นเชื่อมโยงระหว่างฉากแรกกับฉากหลัง หรือระหว่างหลายฉาก ซึ่งเป็นเวลาที่ล่วงเลยมาไม่นานนัก และในภาพของฉากแรกกับฉากหลังไม่มีอะไรให้สังเกตเห็นได้ว่ามีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน
Superimpose
• 4. ภาพซ้อน (Superimpose)หมายถึง การซ้อนฉาก 2 ฉากเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อแสดงถึงเหตุการณ์ต่างสถานที่ในเวลา เดียวกัน แสดงภาพการคิดคำนึงของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการถ่ายภาพใบหน้าและภาพเหตุการณ์ไป พร้อมๆกัน นอกจากนี้ยังใช้ในการสร้างภาพพิเศษ เช่นภาพผ
Wipe
• 5. ภาพกวาด (Wipe)หมายถึง การใช้ภาพต่อเนื่องโดยให้ภาพใหม่เข้ามากวาดภาพเก่าออกจากจอทีละน้อยจนภาพเก่าหมดจากจอ หรือภาพใหม่เข้ามาแทนที่ เช่น กวาดจากซ้ายไปขวา หรือบนจอลง
ล่างจอ เป็นต้น
Morphink
• 6. ภาพเลือนเข้าหากัน (Morphink) การเปลี่ยนจากภาพหนึ่งไปสู่อีกภาพหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ด้วยการละลายเข้าหากันจนเป็นภาพใหม่ ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่องคนเหล็ก และเรื่อง โรโบคอบ


การเขียนบทวีดิทัศน์หนังสั้น
ประเด็นสำคัญในการเขียนบทโทรทัศน์
1. กระบวนการคิดให้เป็นเรื่องสั้น
2. จากโครงเรื่องสู่บทหนังสั้น
3. การเขียนบทโทรทัศน์โดยคำนึงถึงผู้ฟังและผู้ชม
4. พิจารณาด้านความงดงามและเทคนิคการผลิตรายการ
5. รูปเเบบบทโทรทัศน์
6. ประเภทบทโทรทัศน์
7. ขั้นตอนการเขียนบทโทรทัศน์

กระบวนการคิดให้เป็นเรื่องสั้น
      1.เล่าเพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเอง 
          เช่น นาย ก.เดินทางไปในป่าเพื่อล่าสัตว์ และพบสิงโตตัวหนึ่งกำลังไล่ล่ากวาง ในระหว่างที่นาย ก. กำลังมองดูเหตุการณ์นี้ จู่ๆ  สิงโตก็หันไปเห็นนาย ก.และวิ่งไล่ใส่นาย ก.แทน ฝ่ายนาย ก. เมื่อเห็นดังนั้นก็เลยรีบวิ่งโกยไม่คิดชีวิต เมื่อเขารอดมาได้ ไม่ว่าเจอหน้าใครเขาก็อดไม่ได้ที่จะเล่าเรื่องนี้ให้แก่คนผู้นั้นฟัง เรื่องเล่าประเภทนี้ ผู้เล่ามักจะมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องที่ตนเองเล่าไปด้วยเป็นอย่างมาก 
พูดง่ายๆ ก็คือมี “ประสบการณ์ร่วม” หรือใกล้ชิดกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นๆ อย่างแท้จริง
      2.เล่าเพราะเห็นเจอมา   แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับตัว เช่น นาย ข. ขึ้นรถเมล์ที่เบียดเสียด แล้วได้ไปเจอผู้ชายลุกให้เด็กนั่ง มันเป็นเหตุการณ์อันน่าประทับใจจนเขาต้องเล่าให้เพื่อนของเขาฟัง เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องที่กระทบความรู้สึกของคนเล่ามากเท่ากับเรื่องแบบ แรก แต่ก็เป็นเรื่องที่โดนใจเขาได้หากลึกๆ แล้วมันเป็นประเด็นที่เขาอ่อนไหว เช่น นาย ข.โดยปรกติแล้วชอบช่วยเหลือคนที่อ่อนแอ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงสร้างความรู้สึกแก่เขา
      3. เล่าเพราะจินตนาการ คือเรื่องแต่งแบบ 100 เปอร์เซ็นต์เต็มอย่างพ่อที่เล่านิทานที่แต่งขึ้นมาเดี๋ยวนั้นให้ลูกฟังก่อนนอน เรื่องแบบนี้จะมีประสบการณ์ร่วมหรือรู้สึกไปกับเหตุการณ์น้อยกว่าเรื่องแบบ ที่สอง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าด้อยค่าไปกว่ากันเลย เพราะว่าเรื่องเล่าแบบนี้สามารถสร้างความอยากติดตามให้แก่ผู้ฟังได้ หากตัวคนเล่าเองเปิดใจเชื่อในสิ่งที่ตัวเองกำลังเล่าอยู่แบบหมดเปลือก 

จากโครงเรื่องเดินสู่การเป็นบท
                 เมื่อสามารถคิดและเขียนเรื่องได้แล้ว ก็มาสู่ขั้นการเขียนบท ทุกอย่างในขั้นตอนนี้จะง่ายขึ้นเมื่อมีโครงเรื่องที่เรียบร้อยดีอยู่แล้ว ก็แค่ยึดเอาโครงเรื่องนี้มาไว้กับตัว และจำหลักการง่ายๆ  ดังต่อไปนี้ที่คุณควรจะยึดติดเอาไว้จำไว้เสมอว่าตัวเองกำลังเล่าเรื่องเกี่ยวกับอะไร หมายความว่าพยายามยึดเรื่องให้อยู่กับประเด็นหลักเอาไว้เดินเรื่องไปข้างหน้าอยู่ตลอด อย่างที่เกริ่นไว้ในหัวข้อการคิดเรื่อง การที่ทำให้เรื่องเดินหน้าไปตลอดนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหนังที่ต้องการให้คนดูได้รับความบันเทิงการยึดหลัก 3 องค์ประกอบ
        องค์แรก  คือการปูเรื่อง เปิดตัวละคร จนเกิดเหตุการณ์พลิกผันกับตัวละคร นำไปสู่องค์ที่ 2
        องค์ที่สอง คือส่วนกลางเรื่อง เล่าเรื่องที่ปูไปสุดจุดหักเหอีกครั้งก่อนจะเข้าสู่ climax (ช่วงจบ) 
        องค์ที่สาม คือบทสรุปของเรื่องคุณสามารถนำหลัก 3 องค์ไปปรับใช้ได้กับการเล่าเรื่องทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะโรแมนติก สยองขวัญ หรือหนังแอ็คชั่นเลือดท่วม 

จุดมุ่งหมายของการเขียนบทโทรทัศน์
1.เพื่อกำหนดรูปรายการ
2.เพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาของรายการ
3.เพื่อจัดลำดับข่าวสารความสำคัญของการผลิต

รูปแบบของบทโทรทัศน์
รายละเอียดที่ควรกำหนดไว้ในบทโทรทัศน์
1.ชื่อสถานที่,หน่วยงานที่ผลิต
2.ชื่อชุดรายการ
3.ชื่อรายการ
4.ชื่อรูปแบบรายการ                                                        
5.ความยาวของรายการ
7.ชืาอผู้ดำเนินรายการ (พิธีกร)
8.สถานีที่ผลิตรายการ
9.วัน/เวลา/สถานที่ๆจะผลิตรายการ
10.วันเวลาที่จะออกอากาศครั้งแรก                  
11.บุคลากรที่รับผิดชอบผลิตรายการ
12.รายละเอียดที่เกี่ยวกับฉากและวัสดุ
13.แผนรายการ                                                                             

ประเภทบทโทรทัศน์
ประเภทของบทโทรทัศน์มีทั้งหมด5แบบดังนี้
  1 บทแบบสมบูรณ์
  2 บทแบบกึ่งสมบูรณ์หรือแบบย่อ
  3 บทแบบกำหนดการแสดงและช่วงเวลา
  4 บทแบบเปิด
  5 บทแบบเรียงลำดับเรื่องที่เสนอ

ขั้นตอนการเขียนบทโทรทัศน์
ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นวิจัยเนื้อหาและกำหนดประเด็น
ขั้นกำหนดเวลาและรูปแบบของรายการ
ขั้นเขียนแผนผังรายการ
ขั้นเขียนร่างบท
ขั้นทดสอบต้นร่าง ปรับปรุง แก้ไข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น