วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555
แบบฝึกหัดการแต่งกาย
1. ประโยคที่ว่า “บุคลิกดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” นิสิตเห็นด้วยหรือไม่จงให้เหตุผล Weblog
ตอบ เห็นด้วย เพราะว่าบุคลิกภาพที่ดีย่อมมีเสน่ห์ดึงดูดใจ เป็นเสมือนโซ่คล้องใจบุคคลทั่วไปให้เกิดความประทับใจ ความมั่นใจในตัวบุคคลนั้นในการที่จะทีปฎิสัมพันธ์กันทางสังคมไม่ว่าจะเป็นการร่วมงาน หรือขอคำปรึกษา หรือพบปะพูดคุยเรื่องราวทั่วไปก็แล้วแต่
นอกจากนี้การมีบุคลิกภาพที่ดีสามารถบ่งบอกนัยของการทำงานบางอย่างนั่นก็คือ การเตรียมความพร้อมที่มีต่อการทำงาน เป็นผู้พร้อมที่จะรับผิดชอบงานในทุกรูปแบบ พร้อมที่จะเผชิญปัญหาและอุปสรรคนานาประการ รวมถึงมีความพร้อมต่อการสร้างปฎิสัมพันธ์และการพูดคุยกับผู้อื่น
2. ถ้านิสิตเป็นคนมีรูปร่างอ้วนควรแต่งกายอย่างไร พร้อมภาพประกอบ ลงใน Weblog
ตอบ - สวมเสื้อผ้าที่เสริมไหล่
- ควรเป็นเสื้อผ้าเนื้อเรียบ เบาบาง
- เสื้อควรเป็นคอวี ลายคั้ง
- ผ้าสีเข้ม ช่วยให้ดูผอม
ภาพประกอบการแต่งกายของคนรูปร่างอ้วน
3. ให้นิสิตเตรียมเนคไทมาคนละ 1 เนคไท เพื่อสอนและสอบการผูกเนคไทในสัปดาห์ถัดไป
4. ถ้านิสิตได้รับมอบหมายให้แต่งกายในวันเปิดตัวแถลงข่าววีดิทัศน์หนังสั้น นิสิตจะแต่งกายอย่างไร
ตอบ ในฐานะที่เราเป็นนิสิต เราก็ต้องแต่งตัวให้ให้ถูกระเบียบ ในชุดนิสิตถูกระเบียบเพราะว่าจะทำให้ดูดีและน่าเชื่อถือกับผู้ที่พบเห็นและอีกอย่างก็เป็นการให้เกียติสถาบันที่ตนเองศึกษาอยู่
5. “บุญคุณไหนไม่เท่าบุญคุณแม่ ที่มีแต่ความรักไม่รู้จักเหนื่อย
ท่านห่วงใยใส่ใจเราทุกเมื่อ”
ให้นิสิตเขียนค้นหาคำคม หรือสุภาษิต ที่เกี่ยวข้องกับวันแม่ เช่น พระคุณแม่ ทำความดีอย่างไรให้กับแม่ พร้อมเขียนบทความลงในเว็บบล็อก และ Print ส่ง พร้อมนำเสนอในสัปดาห์หน้า ความยาวในการนำเสนอไม่เกิน 2-3 นาที ตามหลักการพูดเพื่อการนำเสนออย่างสร้างสรรค์
ตอบ สองมือนี้ เคยโอบอุ้ม เฝ้าฟูมฟัก
สองมือรัก เคยปกป้อง ประคองขวัญ
สองมือแม่ เคยแกว่งเปล เห่ทุกวัน
สองมือนั้น เคยกอดอุ่น ให้หนุนนอน
สองมือที่ ลำบากเหลือ เพื่อลูกน้อย
สองมือคอย เฝ้าระวัง และสั่งสอน
สองมือนั้น ดูกร้านหยาบ เพราะหาบคอน
สองมือป้อน เลี้ยงลูกมา คราเยาว์วัย
" แม่ " คำนี้คนทุกคนที่เกิดมาบนโลกใบนี้ยอมรู้จักกันทุกคน เพราะแม่ เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิตของพวกเรา แม่คือผู้ที่ให้ชีวิตแก่ลูกทุกคน ลูกกว่าจะลืมตามาดูโลกใบนี้ได้นั้น แม่ต้องทนต่อความยากลำบากแค่ไหน อุ้มทองลูกมาตั้ง 9 เดือน ต้องทนเจ็บปวดทำอะไรไม่สะดวกจะนั้งก็ลำบากจะลุกก็ลำบากกินก็กินแบบระมัดระวัง เพราะกลัวว่าลูกจะไม่แข็งแรง ขนาดลูกอยู่ในท้องแม่ยังไม่เห็นหน้าลูกเลยแม่ยังรักและห่วงใยลูกมากขนาดนี้ พอถึงวันที่แม่คลอดซึ้งเป็นวันที่เจ็บและทรมานเจียนตายแต่ด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ที่แม่มีต่อลูกแม่ต้องอดทนถึงที่สุด พอคลอดออกมาเป็นคนแล้ว แม่ก็ต้องดูแลลูกคอยให้น้ำนม ปอนข้าวปอนน้ำ คอยทะนุถนอมร่างกายปกป้องลูกหวงแหนลูกเอาใจใส่ทุกอย่าง พอลูกโตมาสักระยะหนึ่ง แม่เริ่มทำงานหนังหาเงินมาเลี้ยงลูกแม่ต้องลำบากตากเหงือเพราะว่ากลัวลูกจะอด แม่คอยอบรมสั่งสอนลูกทุกเรื่อง พอถึงเวลาที่จะได้เข้าโรงเรียนแม่ก็จัดการซื้ออุปกรณ์การเรียนให้ลูกชุดนักเรียนเครื่องแบบในการเรียน ทุกอย่างแม่หาให้ลูก เพราะอยากให้ลูกได้มีการศึกษาอยากให้ลูกมีความรู้ เพื่อที่จะได้เอาความรู้นั้นไปใช้ประกอบอาชีพเมื่อเติบโตขึ้นมีการงานที่ดีทำ และเราในฐานะที่เป็นลูกสิ่งที่ควรตระหนังอยู่ตลอดเวลาก็คือทำตัวให้ดี ตั้งใจเรียน อย่าทำให้แม่เสียใจเป็นคนดีของสังคม เติบโตมาทดแทนบุญคุณพ่อกับแม่ที่ให้ชีวิตให้การดูแลให้ทุกอย่างแก่ลูกด้วยความรักและความห่วงใยอันบริสุทธิ์เหนือสิ่งอื่นใดในโลกนี้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 บุคลิกภาพการแต่งกายกับการนำเสนออย่างสร้างสรรค์
การมีบุคลิกภาพที่ดี ต้อง สุขภาพ สะอาด การยิ้ม
ความเป็นมาของการแต่งกาย
1. เป็นวัฒนธรรมของแต่ละชาติ
2. มีการปลูกฝังตั้งแต่ในครอบครัว
เด็กจะเกิดการเรียนรู้
@ การแต่งกายภายในบ้าน
- ชุดอยู่กับบ้าน ชุดนอน
@ การแต่งกายออกนอกบ้าน
- ชุดนักเรียน ชุดทำงาน ชุดไปงานเลี้ยง
ความสำคัญของการแต่งกาย
1.สามารถสื่อสารได้ 2.ช่วยเสริมบุคลิกภาพ
หลักการแต่งกายที่ดูดี มีเสน่ห์
เน้นความเป็นตัวของตัวเอง ถูกต้องตามกาละเทศะ สะอาด สุภาพ เรียบร้อย สวยงาม รู้จักดัดแปลงแก้ไข สร้างเอกลักษณ์ให้กับตนเอง
การแต่งกายให้ดูดี มีเสน่ห์
การแต่งหน้า
การเลือกใช้เครื่องสำอาง การแต่งสีสัน
ทรงผม
* การเลือกทรงผม
* ความสะอาด
* ความเรียบร้อย
* เหมาะสม และดูดี
เสื้อผ้า
สุภาพ
ประณีต
สะอาด
ประหยัด
การเลือกเสื้อผ้าตามรูปร่าง
หากเป็นคนผอมบาง
- ใส่สีอ่อนหรือสีสว่าง จะช่วยให้ดูเปล่งปลั่ง
- สามารถใช้เนื้อผ้าที่มันวาวเพื่อเพิ่มขนาดร่างกาย
- หลีกเลี่ยง ผ้าแข็ง ผ้าหนา แนบเนื้อ หรือรัดรูป
หากเป็นคนอ้วน
- สวมเสื้อผ้าที่เสริมไหล่
- ควรเป็นเสื้อผ้าเนื้อเรียบ เบาบาง
- เสื้อควรเป็นคอวี ลายคั้ง
- ผ้าสีเข้ม ช่วยให้ดูผอม
เป็นคนสูงใหญ่
- ควรสวมเสื้อผ้าที่หนา
- เสื้อคอกว้างๆ แขนกว้างๆ
เป็นคนตัวเตี้ย
- ควรเป็นผ้าสีเดียวกันทั้งชุด
- เสื้อลายแนวตั้ง กระเป๋าด้านเดียว
- เสื้อคอวี แขนยาว ไม่จีบพอง
- กางเกงควรรีดเป็นจีบคม ขายาว
- รองเท้าสีเดียวกับกางเกง
ผิวขาว
- สีกรม ดำช่วยขับผิว ถ้าเป็นสีสดใช้
สีอ่อน ..ใช้ได้เกือบทุกสี
ผิวคล้ำ
- สีเหลืองเทาๆ ครีม สีเบจ น้ำตาลอ่อน ฟ้า เขียวอ่อน ไม่ควรเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือสีเข้มอื่นๆ
1. แต่งกายภายในบ้าน
ชุดนอนชุดอยู่กับบ้านถูกกาลเทศะ สุภาพ สวยงามเป็นตัวของตัวเอง สวมใส่สบาย ไม่อึดอัด
2. การแต่งกายในสถานการณ์
2.1 การแต่งเครื่องแบบ
* เครื่องแบบนักศึกษา
* เครื่องแบบ ยูนิฟอร์ม
* เครื่องแบบข้าราชการ เต็มยศ ปกติขาว
เครื่องแบบนิสิตนักศึกษา
เครื่องแบบนักศึกษาเป็นเครื่องแบบอันทรงเกียรติบอกถึงเอกลักษณ์ ความภาคภูมิในความเป็นปัญญาชน
การแต่งยูนิฟอร์ม/ หนุ่มสาวออฟฟิศ
- สะอาด
- สุภาพ (เหมาะควรแก่กาลเทศะ)
- สวยงาม
** เลือกทรงผมเข้ากับบุคลิกและตำแหน่งสตรี : ควรแต่งหน้าให้สวยสง่า เข้ากับสี เข้ากับชุด
การแต่งสูท
พยายามกลัดกระดุมทุกเม็ด
อย่าสวมสูทที่คับเกินไป
งานพิธีควรเป็นสูทสีเข้ม เช่น น้ำเงินเข้ม ดำและน้ำตาลเข้ม งานศพใช้ได้เฉพาะสูทดำ
เนคไท เป็นตัวบอกบุคลิกเฉพาะ
2.2. การแต่งกายแบบไทย
ชุดประจำชาติ ของไทย
ชุดไทยเรือนต้น
ชุดไทยจิตรลดา
ชุดไทยจักรี
ชุดไทยดุสิต
ชุดไทยประยุกต์
![]() |
ชุดประจำชาติ ของไทย |
![]() |
ชุดไทยจิตรลดา |
![]() |
ชุดไทยจักรี |
![]() |
ชุดขาวข้าราชการ |
2.3.การแต่งกายไปงานกลางคืน /งานราตรี
ชาย ชุดสากลนิยม สูท ผูกไท
หญิง กระโปรงสั้น /ยาวตกแต่งสวยงาม
ถ้าเป็นงานราตรีสโมสร แต่งกายชุดเครื่องแบบเต็มยศ/ชุดไทย ตามที่ระบุ
2.4. การแต่งกายไปงานศพ
@ งานศพที่มีหมายกำหนดการ
แต่งกายสากลไว้ทุกข์ เสื้อเชิ้ตขาว เนคไทสี
ดำชุดปกติขาวสวมปลอกแขนไว้ทุกข์ ชุดไทย สวมถุงน่องดำ รองเท้าสีดำหุ้มส้น
@ งานศพทั่วไป
แต่งกายสุภาพ ตามสมัยนิยม นิยมสีดำมากกว่า
รองเท้า - ถุงเท้า
สภาพถุงเท้า สี ความสะอาด
ลักษณะรองเท้า รองเท้าแตะ รองเท้ารัดส้น รองเท้าหุ้มส้น
สี ความสะอาด ความสูง
การเลือกรองเท้า-ถุงเท้า
ชาย : ตามกาลเทศะ ข้อควรระวังคือ ถุงเท้า ระวังเรื่องสี ความสะอาด และสภาพการที่
ยังใช้การได้
หญิง : รองเท้ามีส้นเหมาะสมที่สุด ถุงน่องควรเป็นสีธรรมชาติ เหมาะกับสีผิว
การดูแลรักษาเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
เสื้อผ้าสำเร็จรูป เลือกที่ตัดเย็บประณีต ดูดี ราคาย่อมเยา ต้องดูแลรักษาให้ดี ควรซักรีดเอง
ไม่ควรโยนกองเสื้อผ้าในตระกร้า หรือสวมไม้แขวนโลหะการเก็บพับอาจทำให้เกิดรอยและเสียรูปทรงได้
เมื่อพบรอยด่างดำ หรือชำรุดต้องรีบแก้ไขซ่อมแซมทันที
เสื้อผ้าเหมือนฉลาก หรือหีบห่อภายนอก ถ้าตกแต่งให้สะอาด ประณีต สวยงาม เหมาะสม จะทำให้สินค้าภายในมีคุณค่า
เครื่องประดับ
ที่ติดผม ต่างหู สร้อยคอ เข็มกลัด นาฬิกา / กำไล แหวน ปากกา ที่ติดเนคไท
ประวัติเนคไท
เครื่อง ประดับตกแต่งลำคอนั้นมีใช้มานานตั้งแต่ยุคโบราณ เพื่อเป็นการบอกยศ ตำแหน่ง หรืออาดเพียงเพื่อใช้ซับเหงื่อ โดยยุคแรกของ เน็คไท มีต้นกำเนิดมาจาก เครื่องประดับลำคอ หรือ
"คราแวท" โดยผู้นำแฟชั่นนี้ก็คือพระพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส"คราแวท" ที่ว่านี้ ถือกำเนิดขึ้นภายหลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทอดพระเนตรเห็นเครื่องประดับคอลักษณะคล้ายโบที่ทหารโครเอเชียสวมอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 17 โดยคำว่า "คราแวท" นั้นก็มีรากศัพท์มาจากคำว่า "โครแอต"ซึ่งแปลว่าชาวโครเอเชียนั่นเองในปี พ.ศ.2467 ช่าง ตัดเสื้อชาวอเมริกันชื่อ เจสซี แลงสดอร์ฟ ได้คิดค้น และจดลิขสิทธิ์ เน็คไท ซึ่งผลิตขึ้นจากผ้าตัดเฉียงๆแบบเดียวกับที่เราเห็นกันชินตาอยู่ในปัจจุบันวิธีเลือกผูก เนคไท
มีวิธีเลือกผูกเน็คไท ให้เหมาะสมกับขนาดเนคไท ง่ายดังนี้
- ไทค์หน้ากว้าง 4 นิ้ว เป็นอิตาเลียนสไตล์ เหมาะกับการผูกแบบทบ หรือสองทบง่าย ๆ แล้วจะเกิดรอยบุ๋มแบบหยดน้ำหรือเป็นแฉกคล้ายทองหยิบ ขึ้นอยู่กับเนื้อผ้า และการกำหนดปมตอนแรก
- ไทค์หน้าแคบลงมาประมาณ 3.5 นิ้ว เหมาะกับการผูกแบบวินเซอร์ เป็นปมสามเหลี่ยมแบบอังกฤษ และแบบทบ หรือสองทบที่เรียกว่าโฟร์อินแฮนด์ หรืออเมริกันก็ได้ แต่ถ้าผูกแบบโฟร์อินแฮนด์แล้ว ไทค์แบบอิตาเลียนจะสวยกว่านั้นเอง
การพูดในที่สาธารณะ
ประมวลจากกจิกรรมชุมชนนกัปฏิบัติ
วันที่ 10 มถิุนายน 2551
423321 การออกแบบและนำเสนออย่างสร้างสรรค์
1. การในการพูดสร้างบุคลกิภาพที่ดี
ไมว่า่จะเป็นวิทยากร พิธิีกร ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมตามบทบาท หนา้ที่ที่ได้รับ
1.1 ด้านภาพลักษณ์
แต่งกายถูกกาลเทศะ อากัปกิริยากระตือรือร้น ไม่ลุกลี้ลุกลน ใบหน้า้เบิกบานแจ่มใส มองผู้อื่นอย่าเป็นมิตรมีอัธยาศัยดีต้อนรับขับสู้มีความทรงจำดี
1.2 ด้านการพูด
- มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด เช่น การทักทายที่ประชุม
- พูดให้สละสลวยมีความเชื่อมโยง แต่ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
- ไม่พูดวกวน
- ไม่พูดด้วยท่าทีเคร่งครัด
- อาจมีมุกตลก / ลูกเล่นแทรก
- ไม่เพ้อเจ้อเกินไป
- พูดให้น้ำเสียงธรรมชาติ
1.3 ด้านปฏิภาณไหวพริบและด้านจิตใจ
- มีปฏิภาณไหวพริบและแก้ไ้ขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
- จิตใจสุขุมเยือกเย็น
- ควบคุมอารมณ์ได้ดี มีสมาธิดี
2. การเตรียมตัวก่อนการพูด
2.1 เตรียมเนื้อหา
ต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะพูดอย่างดีโดยการค้นคว้าเตรียมเนื้อหาให้ถูกต้องแม่นยำ
2.2 ฝึกซ้อม
ต้องซ้อมหน้ากระจกในการวางท่าทาง ในเนื้อหานั้นจนคล้องปากไม่มีลักษณะเป็นการท่องจำ
พร้อมนับเวลาให้พอดี
2.3 การเตรียมใจ
สร้างความมั่นใจ ถา้ประหมา่ ให้สูดลมหายใจเขา้ลึก ๆ
3. การใช้ไมโครโฟน (ไมค์)
3.1 การจัดเตรียมไมค์
เป็นหน้าที่ของผู้จัดการประชุมหรือผู้ฝึกอบรมซึ่งมีหน้าที่ต้องทดสอบว่า ไมค์ใช้การได้ดีมีเสียงดังไม่ควรเคราะไม่ค์ ถ้าไม่พร้อมผู้จัดการต้องขอโทษวิทยากร
3.2 วิธีการจัดไมค์ที่ถูกต้องในการพูด
- ถ้าเป็นไม่ค์ขาต้องปรับระดับให้พอดีกับความสูงของผู้พูดเองไม่สูงจนเกินไป
- การถือไมค์ใช้มือข้างเดียวให้กำที่ตำแหน่งดามมือไม่ใช่หัวไมค์ไม่เกา ไม่ขูดไมค์จะเกิดเสียงน่ารำคาญ ถ้าหอนให้หันหัวไมค์ออกจากลำโพง
- ระยะจากปากถึงหัวไมค์ โดยปกติประมาณ 1 ฝ่ามือ ขึ้นอยู่กับระดับหัวไมค์ด้วย ขณะพูดอาจขยับให้เข้าใกล้หรือไกลออกไปเพื่อระดับเสียงที่ออกมาอยู่ในระดับพอดี ไม่พูดจอใส่หัวไมค์
4. การวางท่าทางขณะพูด
4.1 กรณีที่ยืนตรง ไม่กางขามากเกินไปปลายเทา้แบะออกนิดหน่อย ให้อยู่ในท่าทางมั่นคงเก็บพุ่งไม่กุมเป้าไม่กุมเข็มขัด ไม่กอดหน้าอก ตำแหน่งยืนตรงกลางเวที อย่าลบมุมหันหน้าเข้าหาผู้ฟัง ไม่มองเพดาน ไม่เกาไม่หาว ไม่ชี้หน้าผู้ฟัง ( ใช้การผายมือแทน )
4.2 การวางมือ กรณีไมค์มีขาตั้ง ไม่ต้องใช้มือกุมขาไม่ค์อีก ไม่ล้วงกระเป๋า ถ้านั้งให้วางมือบนหน้าตัก ปล่อยแขนธรรมดา หรือวางมือประสานกัน
4.3 กวาดสายตาไปทั่วห้อง สบตาผู้ฟังแต่อย่าจ้องหน้าผู้ฟังเพื่อไม่ให้เพสียสมาธิ ใบหน้ายิ้มละไมตลอดเวลา
5. เทคนิคการสร้างความสนใจจากผ้ฟู ัง
5.1 การสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟัง โดยการทักทายผู้ฟังที่เรารู้จัก หรือพูดถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับตัวผู้พูดให้เห็นความสำคัญของผู้ฟังเชื่อมโยงกับหัวข้อที่จะพูด
5.2 การตั้งคำถามกับผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการตื่นตัว ไม่หลับโดยอาจตั้งคำถามกว้างๆไว้ ถ้าบรรยากาศมีคนหลับหรือไม่สนใจจริงๆ ก็สุ่มถาม ถามเฉียดๆ แต่อย่าไล่จี้จนเกิดความกดดันกับผู้ฟัง อาจจะให้รางวัลกับผู้ที่ตอบถูกหรือ มีข้อเสนอแนะ
5.3 ควรมีการยกตัวอย่าง เล่าเรื่องรวมประกอบการบรรยาย ให้แต่ละข้อหลักเสมอ คนฟังจะสนใจ
5.4 พูดด้วยน้ำเสียงสูง – ต่ำแล้วแต่จังหวะ เช่น คำพูด/ คำถามที่ต้องการเน้น ต้องใช้เสียงสูง
5.5 มีการสอดแทรกมุกตลก อารมณ์ขันด้วย
5.6มีการนำเสนอแบบหักมุม ในสิ่งที่คนคาดไม่ถึงในคำตอบ
5.7 การใช้กิจกรรมที่ทำให้ฝู้ฟังมีส่วนร่วม เช่น การใช้บทบาทสมมุติการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็น
6. เทคนิคการแนะนำวิทยากร
กรณีการเป็นพิธีกรต้องแนะนำ ประวัติตัววิทยากรก่อนการบรรยายในหัวข้อนั้น
6.1 กล่าวถึงความสำคัญของเนื้อหา เชื่อมโยงกับตัววิทยากรในเชิงที่ว่าหัวข้อนี้ต้องเป็นวิทยากรท่านนี้เท่านั้น
6.2 กล่าวถึงความสำคัญของวิทยากร ว่าท่านมีภาระกิจมากกว่าจะเชิญท่านมาบรรยายได้ลำบากมาก
6.3 กล่าวถึงลักษณะเด่น ผลงานเด่น / กล่าวสรรเสริญวิทยากร
6.4 กล่าวถึงประวัติการศึกษา และประสบการณ์การทำงานของท่าน
6.5 กล่าวถึงตำแหน่งและชื่อสกุลของวิทยากร และพูดให้คนฟังแสดงการปรบมือ โดยห้าม
พูดตรงๆว่า “ขอเสียงปรบมือ”
6.6 เมื่อวิทยากรบรรยายจบ การกล่าวขอบคุณวิทยากรให้กล่าวว่าเราได้รับประโยชนจ์าก
หัวข้อที่พูดอย่างไร ให้ผู้ฟังรู้สึกทราบซึ้งและอยากปรบมือให้วิทยากรเอง
7. ขั้นตอนการทำหน้าที่พิธีกรในช่วงเปิดการประชุม/ฝึกอบรม
7.1 ไหว้แนะนำตัวและทักทายผ฿้เข้าร่วมประชุม/ฝึกอบรม
7.2 กล่าวถึงความเป็นมากำหนดการของงานชัดแจงรายละเอียดต่างๆกล่าวเชิญชวนกล่าวเชิญชวนผู้เข้าร่วมประชุมเข้าห้องและ นั้งด้านหน้า
7.3 เมื่อประธานมาถึง ให้ประธานพักประมาณ 5 นาที
7.4 เมื่อประธานพร้อม หาจังหวะตรึงใจเริ่มพิธีการ
ขอเชิญประธาน “จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและขึ้นสู้แท่นรับฟังกล่าวรายงาน”
การบรรยายต้องรักษาเวลา
การจบการบรรยายให้ลงให้สวย เปิดโอกาสให้ถามการตอบคำถาม ถ้าไม่รู้ก็ตอบว่าไม่รู้แล้วจะค้นคว้าข้อมูลมาให้อย่าเดา
เทคนิคการบรรยายให้มีประสิทธิภาพ
- ตั้งวัตถุถุประสงคข์องการบรรยาย- กำหนดประเด็นของเนื้อหา
- อธิบายวัตถุประสงคข์องแตล่ะประเด็น
- กำหนดเนื้ออหา และตัวอย่างสำคัญของแต่ละประเด็น
- การบรรยายแบบจูงใจผู้ฟัง
- การเชื่อมต่อประเด็น
- การสรุปประเด็น
การเตรียมตัวต้องพิมพ์งานนำเสนอในรูปเอกสารสำรองเผื่อการนำเสนอแบบดีจิตอลไฟล์ผิดพลาด
เตรียมให้พร้อม ซ้อมให้ดี ท่าทีให้สง่า หน้าตาสุขุม ทักที่ประชุมไม่วกวน
เริ่มต้นให้โน้มน้าว เรื่องราวกระชับ ตาจับที่ผู้ฟัง เสียงดังพอดี อย่าให้มีเอออ้า ดูเวลาให้พอครบ จบให้จับใจ
บุคลิกภาพในการนำเสนอ
บุคลิกภาพขณะนำเสนอ
บุคลิกภาพขณะนำเสนอ คือ สภาวะทุกอย่างของผู้นำเสนอ ทั้งสภาวะทางกายและจิตใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกระทำในระหว่างการนำเสนอ บุคลิกภาพที่ดีเีป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เรามั่นใจในขณะพูดและทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกประทับใจและสนใจติดตามฟัง โดยไม่รู้สึกเบื่อหรือง่วงนอนก่อนที่เราจะพูดจบ
บุคลิกภาพที่ดีในการนำเสนอนั้นประกอบด้วย
การแต่งกาย
การใช้ภาษา
การใช้เสียง/จังหวะการพูด
การแสดงออกที่เหมาะสม
การแต่งกาย(Dressing)
การแต่งกายเป็นจุดแรกที่ดึงดูดสายตาผู้ชมเครื่องแต่งกายเป็นตัวบ่งบอกบุคลิก นิสัยความเป็นมืออาชีพอีกทั้งทำให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจก่อให้เกิดทัศนคติดีอยากติดตามฟัง
เทคนิคการแต่งกาย
ผม - เล็บตัดสั้น ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
เครื่องประดับ ควรมีแต่พอเหมาะ
เสื้อผ้า
- แต่งกายให้สะอาด สุภาพ เรียบร้อย สีที่เ่ีรียบ ไม่ฉูดฉาด
- แต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะและสถานที่
- ไม่ควรใส่ กระโปรงยาวหรือสั้นเกินไป(สำหรับสุภาพสตรี)
การใช้ภาษา
ใช้ภาษาให้เหมาะกับกลุ่มผู้ฟัง
ภาษาที่ใช้ถูกต้องมีความชัดเจน
ใช้ภาษาที่สุภาพออักขระถูกต้องชัดเจน
กะทัดรัดได้ใจความ ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
มีลำดับขั้นตอนการนำเสนออธิบายเหตุ- ผล สอดคล้องกัน
พยายามเลี่ยงศัพท์เทคนิคที่ไม่จำเป็นถ้าจำเป็นควรขยายความ
ไม่พูดคำ ติดปาก เช่น เอ้อ อ้า แบบว่า เป็นต้น
การใช้เสียง/จังหวะในการพูด
พูดเป็นธรรมชาติไม่ทุ่มหรือแหลมจนเกินไป
พูด ด้วยความเร็วที่เ่ีหมาะสม ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป
พูดให้ดังและชัดเจน ไม่ใช้ระดับเสียงเดียว
รู้จักการใช้เสียงสูงต่ำในการเน้นความหมายอย่างเหมาะสมเว้นวรรคคำให้ถูกต้องควรหยุดในบางจังหวะการพูด
-เพื่อให้เวลาผู้ฟังจับประเด็นได้ทัน
-เพื่อให้เวลาผู้ฟังทำความเข้าใจเนื้อหาที่เราพูด
การแสดงออกที่เหมาะสม
การใช้สายตา (Eye Contact)
ภาษากาย (Body Language)
- การนั่งนำเสนอ
- การยื่นนำเสนอ
- มือ/แขน
- ใบหน้า/สีหน้า
การใช้สายตา (Eye Contact)
"The eyes are the windows to the soul" หมายถึง
ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ การมองตาผู้ฟังเป็นการ
สื่อสารบอกถึงความรู้สึกจากใจไปถึงผู้ฟัง การสบตา
ผู้ฟังเป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่ี่วยสร้างความสนใจต่อผู้ฟัง
ดังนั้นวิธีการสบสายตาผู้ฟังจึงจำเป็นอย่างมากในการนำเสนอ
วิธีการสบตาผู้ฟัง
- สบสายตาผู้ฟังอย่างเปิดเผย
-พยายามรักษาระดับสายตาโดยไม่มองเพดานหรือพื้น
-ใช้สายตาอยู่กับผู้ฟังให้ได้มากที่สุด
-ใช้สายตาควบคุมผู้ฟังให้สนใจ
-สบสายตาผู้ฟังสลับกันไปอย่าจ้องคนเดียวนานๆ
-ไม่มองอย่างไร้จุดหมาย
-ไม่ทิ้งผู้ฟัง
ภาษากาย (Body Language)
การนั่งนำเสนอ
ข้อแนะนำ
วางมือบนโต๊ะ หรือเก็บวางไว้ที่ตัก
อาจใช้มือประกอบท่าทางให้เข้ากับเนื้อหาการนำเสนอได้ แต่อย่ามากเกินไป
ยืนตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง
เคลื่อนไหวบ้างแต่อย่ามากเกิดไป
แสดงอาการเป็นมิตรกับผู้ฟัง
ข้อควรระวัง
เคาะโต๊ะ
หมุนหรือกดปากกาเล่น
เสยผมบ่อยๆ หรือใช้นิ้วม้วนผมไปมา
กัดเล็บ
ยืนหลังค่อม ไหล่ตก
ยืนขากางมากเกินไป
เดินหมุนวนกลับไปกลับมา
ยืนพิงโต๊ะในที่ประชุม
มือ/แขน
ข้อแนะนำ
ปล่อยแขนเป็นธรรมชาติ
ใช้มือเพื่อประกอบท่าทาง ให้เหมาะสมกบัเนอื้ หาทพ่ี ดู
ใช้การผายมือแทนการใช้ pointer หรือ นิว้ ชี้บุคคลหรือส่ิงของ
ข้อควรระวัง
ถูมือไปมา บีบมือแน่น หักนิ้วกอดอก ไขว้หลัง กำหมัด
ล้วงกระเป๋า
เล่นกับสายไมโครโฟน
จับขาที่ตั้งไมโครโฟนตลอดเวลา
ถือ pointer แกว่งไปมา
ใบหน้า/สีหน้า
ข้อแนะนำ
ยิ้มแย้มแจ่มใสดูเป็นมิตรเป็นธรรมชาติ
ปรับสีหน้าให้เข้ากับเนื้อหา เช่น หากนำเสนอถึงเรื่องปัญหาก็ให้
ปรับสีหน้าดูเป็นทางการจริงจังหากกล่าวถึงความสำเร็จ ก็ให้กล่าวด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้ม
ข้อควรระวัง
กลอกตาไปมา
เม้มริมฝี ปาก ขบริมฝี ปาก
กัดปากกาหรือดินสอ
สีหน้าแข็ง เฉยเมย ไม่มีชีวิตชีวา
ไม่ยอมสบตาคน
ขมวดคิ้ว เลิกคิ้ว
“การนำเสนอ ถึงแม้เนื้อหาสาระจะดี
เพียงใดหากมีการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมอาจ
ทำให้งานเสนอนั้นๆ หมดคุณค่าได้”
วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)